โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนา หมู่ 10 ต.ตาตุม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521 เปิดทำการสอนในระดับก่อนประถมศึกษา และระดับชั้นประถมศึกษา อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีความต้องการที่จะให้บุตรหลานของตนมีการศึกษาดี การช่วยเหลือของชุมชนดี
โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ตั้งอยู่หมู่ 10 ต.ตาตุม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32150 มีเนื้อที่ 30 ไร่ หมู่บ้านในเขตบริการได้แก่ บ้านภูมินิยม หมู่ที่ 10 ต.ตาตุม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ห่างจากโรงเรียนประมาณ 0.7 กิโลเมตร การคมนาคม ไม่ค่อยสะดวกเป็นบางพื้นที่ถนนหน้าโรงเรียนเป็นถนนลาดยาง ถนนบริเวณหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตที่ชำรุดเป็นหย่อมๆ
โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนาตั้งอยู่ในเขตชายแดนประเทศไทย – กัมพูชา อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านภูมินิยม 700 เมตร ทางทิศเหนือติดกับบ้านทัพดัด ทิศใต้ติดกับป่าชุมชนจนถึงเขตชายแดนประเทศไทย – กัมพูชา ทิศตะวันตกติดกับ บ้านโนนสว่าง ทิศตะวันออกติดกับบ้านตาแตรว ตำบลเทพรักษาในที่ดินสาธารณะประโยชน์ เดิมมีเนื้อที่ 5 ไร่ เป็นป่าทึบ ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 2 ห้องเรียน กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร โดยประชาชนเป็นผู้ ริเริ่ม และไม่มีเงินงบประมาณ มีนายเยียน ภาสดา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ พร้อมด้วยนายสม ทัดศรี นายอำเภอสังขะ และนายจรูญ ทองประสาส์น รักษาการแทนหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอสังขะ เป็นผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างและจัดตั้งโรงเรียนทางราชการได้แต่งตั้ง นายทองเย็น สิริไสย ครู 4 โรงเรียนดมวิทยาคาร มาเป็นรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนแรก โดยเปิดทำการสอน วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2521 รับนักเรียนได้จำนวน 56 คน ชาย 31 คน หญิง 25 คน เข้าเรียนใน ชั้น ป.1 แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน นายทอย หวังสม เป็นผู้ช่วยครูโรงเรียนสตรีวิทยาสมาคม (โรงเรียนบ้านขยอง) มาเป็นครูช่วยราชการทางโรงเรียนได้จัดให้มีพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ชื่อว่าโรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนา โดยมีนายสุชีพ แข่งขัน ตัวแทนนายอำเภอสังขะ (เจ้าพนักงานปกครอง 5) เป็นประธานในพิธีเปิด
ต่อมาเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ทางโรงเรียนได้ขยายเนื้อที่ออกทั้ง 4 ด้าน กว้าง 5 เส้น ยาว 6 เส้น รวมเป็น 30 ไร่ ในปี พ.ศ. 2525 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนถาวรจำนวน 354,000 บาท แบบ ป.1 จำนวน 2 ห้องเรียน ใต้ถุนสูงต่อเติมชั้นล่าง ราคา 25,000 บาท สร้างบนที่ดินหมายเลข สร.1191 ในปี พ.ศ. 2527 ทางราชการจัดสรรงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน จำนวน 270,000 บาท จำนวน 1 ห้องเรียนชั้นบน และชั้นล่าง 3 ห้องเรียน ตามหนังสือที่ ศธ. 1473.10/2385 สปอ.สังขะ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 และคำสั่ง สปจ.สุรินทร์ ที่ 530/2530 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2530 แต่งตั้งให้ นายสนอง พรมมิสา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนาและในปีการศึกษา 2545 เลื่อนให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนาในปี พ.ศ. 2540 คณะผ้าป่าของเยาวชนบ้านภูมินิยมได้มอบเงินให้ปรับปรุงสนามกีฬา โดยใช้รถปรับสนามเนื้อที่ 9 ไร่เศษ ได้รับเงินงบประมาณจาก สปช. จำนวน 64,322 เพื่อปรับปรุงโรงเรียนตามหนังสือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่ ศธ 04168/ว7334 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 แต่งตั้งให้นายมานพ สุขเกษม มาดำรงตำแหน่งผู้รักษาการในตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนาและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนาตามลำดับวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2549 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ได้มีหนังสือส่งตัวนายธรรมนูญ มีเสนา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนา จนถึงปัจจุบันทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนา
1.นายทองเย็น สิริไสย ตำแหน่ง ครูใหญ่
2.นายแก่น บานชื่น ตำแหน่ง ครูใหญ่
3.นายสนอง พรมมิสา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
4.นายมานพ สุขเกษม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
5.นายธรรมนูญ มีเสนา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
6.ว่าที่ ร้อยเอก ศิริพงษ์ ประดับเพชร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
7.นายวิสัย พิศโฉม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
8.นายยุทธนา สัมฤทธิ์ผ่อง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
บ้านภูมินิยมเป็นหมู่บ้านชายแดน ห่างไกล ทุรกันดาร และเสี่ยงภัย มีปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ที่รุนแรง ผู้ปกครองนักเรียนมีอาชีพทำไร่และรับจ้าง เป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือจึงส่งผลทำให้มีรายได้ต่ำ การประกอบอาชีพของราษฎรอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ประชาชนไม่มีความรู้ในเรื่องการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง ผลผลิตที่ได้รับไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว ประชาชนที่มาอาศัยในพื้นที่มีหลายกลุ่ม เช่น ส่วย เขมร ลาว เป็นชุมชนที่อ่อนแอ ขาดความสมานฉันท์ มีปัญหาการว่างงานและปัญหาการอพยพย้ายถิ่นอยู่ทำให้มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนโดยตรง